ขณะที่จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยมีแต่ข่าวการใช้ความรุนแรงและการสร้างสถานการณ์ร้าย แต่สารคดีเล่มได้สะท้อนให้เห็นความจริง ความดีงาม และความหวังของสังคมในพื้นที่ อันจะเป็นแสงใต้นำไปสู่ความสงบสุขได้
ผู้เขียนนำเสนอภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดชายแดนใต้ ด้วยกลวิธีเชิงเรื่องสั้นโดยใช้ภาษาสำนวนสละสลวย ชวนอ่าน ทรงคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ เป็นเรื่องที่ใช้ความพยายามในการเก็บข้อมูลโดยละเอียด ผ่านการทำงานในพื้นที่จริงเนื้อหามีประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจในวิถีชีวิต จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกของกลุ่มชนที่ถูกมองว่ามีปัญหา อันนำไปสู่แนวทางสมานฉันท์ของชนในชาติ อย่างไรก็ตามพิจารณาองค์รวมของหนังสือแล้ว เห็นว่ามีสัดส่วนของสารคดีชีวิต และศิลปวัฒนธรรม มาปะปน เช่น ชุมชนคนปีนเขา, ชักพระโคกโพธิ์, ล่าบรูดา ฯลฯ ทำให้มีความโดดเด่นน้อยลง เมื่อเทียบกับหนังสือที่เป็นสารคดีภูมิปัญญาโดยตรง