“ชีวิตสำมะหาอันใด” ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นจำนวน ๑๔ เรื่องได้แก่ โมงยามของวัยเยาว์, นายบังเอิญ, สะพานข้ามแม่น้ำ, ค่ายและคุก, นครรุกขชาติ.เรื่องเล่าของคนขายเหล้า, สายเลือด, ประตู, เพียงชั่วขณะหนึ่ง, ภูเขา, พฤศจิกายน, เรื่องเล่าสายน้ำและความตาย, บุรุษไปรษณีย์ผู้หลงลืมเลขที่บ้านของตน และค่ำคืน มทัศจรรย์ ภาพชีวิตของมนุษย์ในเรื่องสั้นดังกล่าว จำแนกตามแนวคิดได้สามภาพใหญ่ ๆคือความไร้เหตุผลของชีวิต, ความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองกับขนบท และการต่อสู้ของมโนธรรมกับสัญชาตญาณทางเพศ ภาพชีวิตภาพแรกสะท้อนทัศนะของผู้เขียนว่าชีวิตมนุษย์ ซึ่งเป็น ความบังเอิญทั้งสิ้นนั้นเหลือเชื่อยิ่งกว่านิยายภาพชีวิตภาพ ต่อมาผู้เขียนซี้ให้ตระหนักถึงคุณค่าธรรมชาติชีวิต เรียบง่ายซึ่งน่าพึงปรารถนากว่าความสับสนวุ่นวาย การแก่งแย่งชิงดีขิงเด่นของผู้คนในสังคมเมือง ส่วนภาพชีวิตภาพสุดท้ายผู้เขียนเห็นว่า คุณธรรมทำให้มนุษย์สุขใจ
กว่ากามารมณ์ เรื่องสั้นของเรวัตร์พันธุ์ พิพัฒน์ ชุดนี้คือผลงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งของวงวรรณกรรมไทยร่วมสมัย เพราะผู้เขียนได้ใช้อักษรศิลป์สะท้อนและวิพากษ์วิจารณ์ชีวิตของคนไทยและสังคมไทยร่วมสมัยอันสับสน วุ่นวาย สามารถเสริมสร้างสุนทรียภาพ รวมทั้งความเข้าใจชีวิตและโลกให้กับผู้อ่านได้โดยแท้