บทกวีมีความหลากหลาย ทั้งกลอน กพย์ยานี และกาพย์ฉบัง
ด้านฉันทลักษณ์ ผู้เขียนรู้ฉันทลักษณ์ดี ดูจากการเขียนตัดคำในกลอนวรรคแรกของกลอนบางบทบางตอน ที่สามารถส่งสัมผัสบังคับไปวรรคต่อไปได้อย่างลงตัว ด้านวรรณศิลป์ ใช้คำง่ย ไม่ต้องแปล ไม่ต้องตีความ ถ้อยคำกระชับ และหลายตอนดูเหมือนพยายามเล่นกลอักษรด้วย ผู้เขียนไม่ได้เขียนกลอนแต่ละวรรคให้จำนวนคำและจังหวะลงตัวอย่างกลอนสุนทรภู่ หากแต่ปล่อยการใช้จำนวนคำตามอารมณ์ ผู้อ่านจึงต้องกำหนดจังหวะเอาเอง ซึ่งเป็นความตื่นเต้นผสมกับความกระโดกกระเดกไปอีกแบบต่างจากฉันทลักษณ์กลอนที่ราบเรียบตามแบบลีลากลอนสุนทรภู่ เนื้อหา เป็นความรักความโหยหาแบบตามวัยกับโลกทัศน์ ตามมุมมองของผู้เขียนที่ยังไม่มีคำตอบ ด้วยการทิ้งภาระไว้ให้ผู้อ่านคิดต่อ มีข้อน่าสังเกตว่ากลอนหลายชิ้นที่ผู้เขียนดูเหมือนยังไม่พอใจ หรือยังไม่จุใจในกลอนจบวรรดสุดท้าย จึงแต่งกลอนสองวรรคท้ายสำรอง ทำให้รู้สึกถึงความไม่มั่นใจของผู้เขียน ในการเขียนบทกวี ขอให้ผู้เขียนมีความมั่นใจ และกล้าตัดสินใจที่จะเขียนผลการตัดสิน